วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความสินค้าส่งออก

ออสเตรเลียไฟเขียวแซลมอนจากไทย 


                แซลมอน เป็นปลาทะเลที่ว่ายเข้าสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ เพราะเป็นปลาที่ผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ จะวางไข่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูงเท่านั้น
โดยแซลมอนเพศเมีย จะขุดรังด้วยปลายหางและวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อมาปฏิสนธิกับไข่ จากนั้นตัว เมียจะใช้หางกลบไข่เพื่อไม่ให้ถูกกระแสน้ำพัดพาไปแล้วลูกปลาจะว่ายตามกระแสน้ำออกสู่ทะเลในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนต่อไป เมื่อออกจากไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะอพยพไปสู่มหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเจริญเติบโตที่นั่น และเมื่อถึงฤดูวางไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะกลับไปวางไข่ที่บ้านเกิดของตัวเองต่อไป         
               เมื่อไม่นานมานี้  นักชีววิทยาชาวแคนาดาได้ทดลองทำเครื่องหมายติดไว้ที่ตัวปลาแซลมอนที่เกิดที่แม่น้ำเฟรเซอร์ในโคลัมเบีย ประมาณ 5 แสนตัว หลังจากนั้น 4 ปี ได้พบแซลมอนที่ทำเครื่องหมายไว้ ประมาณ 11,000 ตัว ในแม่น้ำเฟรเซอร์ในบริเวณที่พ่อแม่เคยมาวางไข่ และไม่พบแซลมอนที่หลงทางไปบริเวณอื่น ๆ เลย การทดลองแสดงให้เห็นว่า การกลับถิ่นกำเนิดของแซลมอน เป็นการชักนำจากกลิ่นของพ่อแม่ที่ปล่อยไว้ในน้ำ แซลมอนได้รับการปลูกฝังกลิ่นเหล่านี้ตั้งแต่ยังไม่ฟักออกเป็นไข่ ถ้าไข่ถูกนำออกจากแหล่งน้ำของพ่อแม่ไปไว้บริเวณอื่น ไกลกว่าหลายไมล์ ตัวเต็มวัยก็ยังคงกลับมาแหล่งเดิมของพ่อแม่ได้ สารประกอบของกลิ่นนั้นเป็นสารอินทรีย์ระเหย และคุณสมบัติทางเคมียังไม่ทราบแน่ชัด ขณะนี้ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า ปลาแซลมอนหาทางมายังปากน้ำได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ในการนำทางมาจากทะเล
               เมื่อกล่าวถึงปลาแซลมอนแล้วประ เทศไทยค่อนข้างห่างไกลกับตัวปลาแบบ เป็น ๆ แต่ถ้าเป็นเนื้อปลาก็เป็นที่ยอมรับ กันว่าคุ้นหูคุ้นปากและรสชาติเป็นอย่างดี ด้วย ปีหนึ่ง ๆ มีการนำเข้าปลาแซลมอนเป็นจำนวนไม่น้อย และมีมากจนถึงขั้น เป็นประเทศกลางในการส่งออกในรูปแบบ  ต่าง ๆ ได้อีกด้วย คือประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่มีแหล่งอาศัยและการจับ ปลาแซลมอนในทะเล แต่เป็นประเทศที่ ส่งออกเนื้อปลาแซลมอนแช่เย็น แช่แข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลาแซลมอนไปยังต่างประเทศปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวน  ไม่น้อย และล่าสุดมีข่าวน่ายินดีสำหรับผู้ส่งออกปลาแซลมอนในรูปแบบต่าง ๆ ของไทย คือทาง ดร.นันทิยา อุ่นประเสริฐ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ทางประเทศออสเตรเลีย ได้อนุญาตการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนแช่เย็นแช่แข็งจากประเทศไทยมาตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2553 ซึ่งที่ผ่าน  มาประเทศไทยได้รับการอนุญาตให้จัดส่งผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนไปจำหน่ายยังออสเตรเลียในรูปแบบแซลมอนกระป๋องเท่านั้น โดยการอนุญาตดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่กรมประมงได้จัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับระบบการควบคุมและตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากปลาแซลมอนให้ทางการออสเตรเลีย  นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีหน้าที่ประเมินความเสี่ยงการนำเข้าสินค้าได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่มาตรวจประเมินการปฏิบัติงานของกรมประมง และตรวจสอบโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่แจ้งความประสงค์จะส่งผลิตภัณฑ์แซลมอนแช่เย็น แช่แข็ง ไปจำหน่ายยังประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา
               ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์แซลมอนแช่เย็น  แช่แข็งที่ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อส่งไปจำหน่าย นั้น  จะต้องใช้นำเข้าจากประเทศที่ออสเตรเลียให้การรับรองเท่านั้น ได้แก่ แคนาดา เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญต้องมีใบรับรองสุขอนามัยที่ออกโดยหน่วยงานรับผิดชอบของประเทศต้นทางกำกับ ซึ่งจะต้องมีข้อความตามที่ออสเตรเลียกำหนด  ไว้ด้วย
               ส่วนการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในประเทศไทยในอนาคตจะมีหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่ในวันนี้ที่ประเทศเวียดนาม การทดลองเพาะเลี้ยงปลาแซล มอนในพื้นที่ภูเขาทางภาคเหนือในเขตซาปา จังหวัดลาวกายของเวียดนาม ซึ่งมีรายงานว่าได้ผลดี และกำลังเร่งขยายพันธุ์ไปสู่ประชาชน ทั่วไปเพื่อให้มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์   อีกด้วย
               สำหรับผู้ประกอบการรายใดที่ประสงค์ จะส่งผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนไปจำหน่าย  ยังออสเตรเลีย ดร.นันทิยา บอกด้วยว่า สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง โทรศัพท์ 0-2558-0150-5 ในวันและเวลาราชการ

วิเคราะห์ Swot Analysis

จุดแข็ง
แรงงานไทยมีศักยภาพและความชำนาญในการแปรรูปอาหารทะเล
ผู้ประกอบการไทยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ให้สะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
จุดอ่อน
สุขอนามัยของแหล่งวัตถุดิบ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องบางแห่ง ยังไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์
เผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานเนื่องจากสภาพแวดล้อมในการทำงานชื้นแฉะและมีกลิ่นเหม็น
โอกาส
มีผู้นิยมหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากขึ้น ปลาทะเลจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยม
ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังมีความต้องการสินค้าแปรรูปเพิ่มมากขึ้น
อุปสรรค
มีการแข่งขันในตลาดที่สูงมาก จึงทำให้สามารถครองตลาดได้ยาก

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศออสเตรเลีย





ที่ตั้งและประวัติความเป็นมาของประเทศออสเตรเลีย
ที่ตั้ง  ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ลักษณะประเทศเป็นเกาะ เป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกใบนี้
ประวัติความเป็นมา  การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2149  เป็นเรือของชาวดัตช์ โดยกัปตัน  Willem Janszoon ทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลีย และต่อมาจึงกลายเป็นดินแดนอาณานิคมของบริเตน โดยเริ่มต้นเป็นอาณานิคมนักโทษในนิวเซาท์เวลส์ และจึงมีการตั้งอาณานิคมขึ้นอีกห้าแห่ง อาณานิคมทั้งหกรวมตัวเป็นสหพันธรัฐในปีพ.ศ. 2444
ที่มา  http://www.chicbiscuit.com/2009/12/variety-australia-guide/

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ (International trade)หมายถึง  การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
  • - ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ของแต่ละประเทศจะถูกใช้ไปในทางการผลิตสินค้าที่ประเทศของตนได้เปรียบในการผลิต ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศไปในทางที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • - ประชากรของแต่ละประเทศ จะได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้นกว่าที่ไม่มีการซื้อการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่น ๆ เลย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้น
  • - ถ้าการสั่งสินค้าออกของประเทศ สามารถส่งออกเป็นจำนวนมากก็จะมีผลกระทบถึงรายได้ของประชากร ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น
  • - สินค้าออกเป็นที่มาของเงินตราต่างประเทศ
  • - สินค้าออกเป็นที่มาของรายได้และภาษีอาการของรัฐ
  • - สินค้าเข้าที่เป็นประเภททุน จะขายเพิ่มในการผลิตและการพัฒนาประเทศ
  • - เมื่อมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ก็จะเป็นผลกระทบในการเพิ่มอำนาจซื้อแก่ประเทศอื่น ๆ ให้สามารถซื้อสินค้าออกของเราได้
ที่มา  http://learners.in.th/file/kulkanit/

การตลาดระหว่างประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
               การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด

ที่มา  www.ba.ru.ac.th/KM/.../การตลาดระหว่างประเทศ.doc

ความแตกต่างของการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้แต่อีกประเทศหนึ่งผลิตไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าของแต่ละประเทศมาแลกเปลี่ยนกัน
                การตลาดระหว่างประเทศ เป็นการทำธุรกิจในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนจากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าการค้าระหว่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

กระบวนการบริหารการขาย


กระบวนการบริหารการขาย


1. การแสวงหาลูกค้าและการพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้า

          ลูกค้า ผู้คาดหวัง (Prospect) คือบุคคลหรือธุรกิจที่มีโอกาสในการที่จะมาซื้อผลิตภัณฑ์ ดังนั้นผู้คาดหวังอาจหมายถึงนิติบุคคล สถาบัน หรือบุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติเพียงพอและมีศักยภาพที่จะมาซื้อสินค้า หรือใช้บริการของกิจการและเมื่อผู้คาดหวังซื้อผลิตภัณฑ์ก็จะเปลี่ยนสภาพมา เป็นลูกค้า

วิธีการแสวงหาลูกค้าผู้คาดหวัง

          งาน แสวงหาลูกค้าผู้คาดหวังจะต้องดำเนินงานอย่างมีหลักเกณฑ์ ต้องมีการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ที่ขาย และมีการกำหนดแผนงาน รวบรวมรายชื่อลูกค้าผู้คาดหวังอย่างสม่ำเสมอ แหล่งที่มาของรายชื่อลูกค้าผู้คาดหวังมักจะมาจากแหล่งต่างๆ

2. การเตรียมตัวก่อนการเข้าพบ

          การเตรียมตัวก่อนการเข้าพบหรือบางที่เรียกว่า การวางแผนก่อนการขาย คือ การเตรียมการเสนอขายของพนักงานขายกระทำให้กับกลุ่มลูกค้าผู้คาดหวังที่กำหนด ขึ้นมา หรือคือการกำหนดรายละเอียดของการเสนอขาย หรือคือ กระบวนการต่อเนื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ เกี่ยวกับลูกค้าผู้คาดหวัง เพื่อวิเคราะห์และวางแผนก่อนการเข้าพบลูกค้าผู้คาดหวัง ขั้นตอนนี้เป็นงานที่กระทำต่อเนื่องมาจากการแสวงหาลูกค้าผู้คาดหวัง กล่าวคือ เมื่อรายชื่อของลูกค้าผู้คาดหวังและทำการพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้าแล้ว ก่อนที่จะดำเนินการเข้าพบ พนักงานขายจะต้องทำการค้นหาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับลูกค้าหรือธุรกิจของลูกค้าผู้คาดหวัง และใช้ข้อมูลต่างๆ ที่หามาได้จัดทำเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อให้การเข้าพบลูกค้าเป็นไปด้วยดีตาม วัตถุประสงค์

3. การเข้าพบลูกค้า

ในการเข้าพบลูกค้านั้น พนักงานขายควรมีเทคนิคในการเข้าพบลูกค้าดังต่อไปนี้คือ

1. ควรมีการนัดหมายลูกค้าก่อนเสมอ

          เพื่อประหยัดเวลาของพนักงานขาย และเพื่อเป็นการเคารพเวลาและให้เกียรติแก่ลูกค้า และถ้าเป็นการเข้าพบโดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า พนักงานขายควรถามลูกค้าก่อนว่าจะสามารถให้พูดเรื่องการเสนอขายได้หรือไม่

2. ต้องเข้าพบให้ตรงเวลา

          พนักงานขายต้องมีการวางแผนการเดินทางก่อนทุกครั้ง และควรไปให้ถึงก่อนเวลานัดหมายเล็กน้อย

3. จงพบลูกค้าด้วยวิธีธรรมดา

          ยิ้มแย้มแจ่มใส และด้วยท่าทีที่สง่าผ่าเผย เนื่องจากลูกค้าไม่ชอบให้พนักงานขายใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือการอำพรางความจริง จงพบลูกค้าด้วยความจริงใจ

4. มีจุดมุ่งหมายในการเข้าพบและใช้ข้อมูลข่าวสารให้มากที่สุด

          ซึ่งจะช่วยให้พนักงานขายสามารถเตรียมการขายได้ถูกต้อง และมีความมั่นใจในการเสนอขาย

5. อย่าพูดแต่เรื่องของตัวเองเป็นใหญ่

          ลูกค้า ไม่ชอบให้พนักงานขายทำให้พวกเขาเสียเวลาในเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพวก เขา แต่ควรต้องมีการเอ่ยชื่อลูกค้าด้วยความชัดเจนและถูกต้อง และแสดงความกระตือรือร้นในสิ่งที่ลูกค้าแสดงความคิดเห็น และอย่าโต้เถียงลูกค้า

4. การเสนอขายและการสาธิต

          การเสนอขาย คือการอธิบายให้ลูกค้าได้ทราบถึงรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และผลประโยชน์และสิทธิพิเศษต่างๆ ที่จะได้รับ ตลอดจนการโน้มน้าวให้ลูกค้าเกิดความต้องการในตัวผลิตภัณฑ์ขึ้นมา

          การสาธิตการขาย เป็น สิ่งสำคัญที่ช่วยให้การขายดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เสียเวลามากนัก เป็นการแสดงหรือทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าผู้คาดหวัง ให้เกิดความสนใจ เกิดภาพลักษณ์สร้างความปรารถนาไปสู่ความเชื่อมั่น และตัดสินใจชื้อในที่สุด ดังนั้น ในการเสนอขายและการสาธิตนั้น พนักงานจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งเนื้อหาที่พูด ลักษณะท่าทาง การพูด น้ำเสียง เวลาที่ใช้ไปในการสาธิต ตลอดจนการเตรียมพร้อมในอุปกรณ์ช่วยการสาธิตต่างๆ

5. การขจัดข้อโต้แย้ง

          ข้อโต้แย้ง (Objection) คือ ข้อแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของลูกค้าและพนักงานขายในเรื่องเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการ ข้อโต้แจ้งดูเหมือนว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเสนอขายของพนักงานขาย แต่ถ้าข้อโต้แย้งนั้นสามารถขจัดไปได้ ก็จะกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเสนอขายของพนักงานขาย ข้อโต้แย้งเป็นสิ่งปกติที่จะต้องเกิดขึ้นในการเสนอขาย

6. การปิดการขาย

          การปิดการขาย คือ การสรุปผลการเสนอขาย เป็นเทคนิคขั้นสุดท้ายที่เร้าความสนใจของลูกค้าให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ด้วย ความพึงพอใจ การปิดการขายจะกระทำภายหลังจากการที่พนักงานขายสามารถขจัดข้อโต้แย้งของ ลูกค้าที่เกิดขึ้นได้แล้ว เป็นเทคนิคของการขายที่เรียกร้องให้ลูกค้ามีการกระทำเกิดขึ้น การปิดการขายทุกครั้งไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป พนักงานขายจำนวนมากที่ประสบความล้มเหลวในการขาย เนื่องจากการขาดหลักการที่ดีในการปิดการขาย ดังนั้นการปิดการขายจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จในการเสนอขายแต่ละ ครั้ง

          เวลาที่ควรปิดการขาย ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าเวลาที่ดีที่สุดของการปิดการขายคือ ช่วงสุดท้ายของการเสนอขาย แต่มีนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า การปิดการขายนั้นสามารถทำได้ทุกขณะของการเสนอขาย อย่างไรก็ตาม เวลาที่เหมาะสมที่สุกที่จะทำการปิดการขาย คือ

1.เมื่อพนักงานขายได้ทำการสาธิตต่างๆ และชี้แจงรายละเอียดของสนค้ามาเป็นเวลานานพอควร

2.เมื่อพนักงานขายได้ตอบข้อโต้แย้งต่างๆ ของลูกค้าจนเป็นที่พอใจ

3.เมื่อลูกค้าแสดงออกถึงความต้องการซื้อในผลิตภัณฑ์ หรือเมื่อมีสัญญาณซื้อจากลูกค้าเกิดขึ้นบ้างแล้ว

7. การติดตามผลและการให้บริการ

          นักการขายสมัยใหม่ถือว่าหัวใจของการทำงานคือ การติดตามผลและการให้บริการ ซึ่งเป็นประการสำคัญในการสสร้างฐานหรือเครือข่ายของลูกค้า และเพิ่มยอดจำหน่ายให้แก่กิจการ หลังจากพนักงานขายได้ปดการขายแล้ว กระบวนการขายยังไม่สิ้นสุด พนักงานขายจะต้องมีการติดตามผล การติดตามที่ดีย่อมเป็นการสร้างการขายต่อไป เนื่องจากการติดตามผลเป็นวิธีการสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้แก่ ลูกค้า เทคนิคของการติดตามผลการขาย ได้แก่ การส่งมอบผลิตภัณฑ์ การตดต่อทางโทรศัพท์ การติดต่อทางไปรษณีย์ การแวะเยี่ยมเยียน การอวยพรในเทศกาลพิเศษ การร่วมงานสำคัญๆของลูกค้า และการสร้างข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม

          การบริการหลังการขาย คือการติดตามเอาใจใส่ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ไปแล้ว โดยให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจและเต็มใจ เช่น การส่งมอบผลติภัณฑ์ การบริการตดตั้ง การบริการตรวจเช็คและแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ การบริการซ่อมแซม เป็นต้น ดังนั้น พนักงานขายที่ดีต้องมีจิตสำนึกของการเป็นผู้ให้ คอยเป็นผู้ประสานงาน รวมทั้งแจ้งข่าวสารต่างๆ หรือรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่ความพอใจและการซื้อซ้ำของลูกค้า

ที่มา : http://www.na-vigator.com/index.php?Itemid=56&catid=25:sales&id=47:-the-selling-process&option=com_content&view=article