ออสเตรเลียไฟเขียวแซลมอนจากไทย
แซลมอน เป็นปลาทะเลที่ว่ายเข้าสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ เพราะเป็นปลาที่ผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ จะวางไข่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูงเท่านั้น
แซลมอน เป็นปลาทะเลที่ว่ายเข้าสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ เพราะเป็นปลาที่ผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ จะวางไข่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูงเท่านั้น
โดยแซลมอนเพศเมีย จะขุดรังด้วยปลายหางและวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อมาปฏิสนธิกับไข่ จากนั้นตัว เมียจะใช้หางกลบไข่เพื่อไม่ให้ถูกกระแสน้ำพัดพาไปแล้วลูกปลาจะว่ายตามกระแสน้ำออกสู่ทะเลในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนต่อไป เมื่อออกจากไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะอพยพไปสู่มหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเจริญเติบโตที่นั่น และเมื่อถึงฤดูวางไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะกลับไปวางไข่ที่บ้านเกิดของตัวเองต่อไป
เมื่อไม่นานมานี้ นักชีววิทยาชาวแคนาดาได้ทดลองทำเครื่องหมายติดไว้ที่ตัวปลาแซลมอนที่เกิดที่แม่น้ำเฟรเซอร์ในโคลัมเบีย ประมาณ 5 แสนตัว หลังจากนั้น 4 ปี ได้พบแซลมอนที่ทำเครื่องหมายไว้ ประมาณ 11,000 ตัว ในแม่น้ำเฟรเซอร์ในบริเวณที่พ่อแม่เคยมาวางไข่ และไม่พบแซลมอนที่หลงทางไปบริเวณอื่น ๆ เลย การทดลองแสดงให้เห็นว่า การกลับถิ่นกำเนิดของแซลมอน เป็นการชักนำจากกลิ่นของพ่อแม่ที่ปล่อยไว้ในน้ำ แซลมอนได้รับการปลูกฝังกลิ่นเหล่านี้ตั้งแต่ยังไม่ฟักออกเป็นไข่ ถ้าไข่ถูกนำออกจากแหล่งน้ำของพ่อแม่ไปไว้บริเวณอื่น ไกลกว่าหลายไมล์ ตัวเต็มวัยก็ยังคงกลับมาแหล่งเดิมของพ่อแม่ได้ สารประกอบของกลิ่นนั้นเป็นสารอินทรีย์ระเหย และคุณสมบัติทางเคมียังไม่ทราบแน่ชัด ขณะนี้ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า ปลาแซลมอนหาทางมายังปากน้ำได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ในการนำทางมาจากทะเล
เมื่อกล่าวถึงปลาแซลมอนแล้วประ เทศไทยค่อนข้างห่างไกลกับตัวปลาแบบ เป็น ๆ แต่ถ้าเป็นเนื้อปลาก็เป็นที่ยอมรับ กันว่าคุ้นหูคุ้นปากและรสชาติเป็นอย่างดี ด้วย ปีหนึ่ง ๆ มีการนำเข้าปลาแซลมอนเป็นจำนวนไม่น้อย และมีมากจนถึงขั้น เป็นประเทศกลางในการส่งออกในรูปแบบ ต่าง ๆ ได้อีกด้วย คือประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่มีแหล่งอาศัยและการจับ ปลาแซลมอนในทะเล แต่เป็นประเทศที่ ส่งออกเนื้อปลาแซลมอนแช่เย็น แช่แข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลาแซลมอนไปยังต่างประเทศปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวน ไม่น้อย และล่าสุดมีข่าวน่ายินดีสำหรับผู้ส่งออกปลาแซลมอนในรูปแบบต่าง ๆ ของไทย คือทาง ดร.นันทิยา อุ่นประเสริฐ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ทางประเทศออสเตรเลีย ได้อนุญาตการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนแช่เย็นแช่แข็งจากประเทศไทยมาตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2553 ซึ่งที่ผ่าน มาประเทศไทยได้รับการอนุญาตให้จัดส่งผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนไปจำหน่ายยังออสเตรเลียในรูปแบบแซลมอนกระป๋องเท่านั้น โดยการอนุญาตดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่กรมประมงได้จัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับระบบการควบคุมและตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากปลาแซลมอนให้ทางการออสเตรเลีย นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีหน้าที่ประเมินความเสี่ยงการนำเข้าสินค้าได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่มาตรวจประเมินการปฏิบัติงานของกรมประมง และตรวจสอบโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่แจ้งความประสงค์จะส่งผลิตภัณฑ์แซลมอนแช่เย็น แช่แข็ง ไปจำหน่ายยังประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์แซลมอนแช่เย็น แช่แข็งที่ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อส่งไปจำหน่าย นั้น จะต้องใช้นำเข้าจากประเทศที่ออสเตรเลียให้การรับรองเท่านั้น ได้แก่ แคนาดา เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญต้องมีใบรับรองสุขอนามัยที่ออกโดยหน่วยงานรับผิดชอบของประเทศต้นทางกำกับ ซึ่งจะต้องมีข้อความตามที่ออสเตรเลียกำหนด ไว้ด้วย
ส่วนการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในประเทศไทยในอนาคตจะมีหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่ในวันนี้ที่ประเทศเวียดนาม การทดลองเพาะเลี้ยงปลาแซล มอนในพื้นที่ภูเขาทางภาคเหนือในเขตซาปา จังหวัดลาวกายของเวียดนาม ซึ่งมีรายงานว่าได้ผลดี และกำลังเร่งขยายพันธุ์ไปสู่ประชาชน ทั่วไปเพื่อให้มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ อีกด้วย
สำหรับผู้ประกอบการรายใดที่ประสงค์ จะส่งผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนไปจำหน่าย ยังออสเตรเลีย ดร.นันทิยา บอกด้วยว่า สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง โทรศัพท์ 0-2558-0150-5 ในวันและเวลาราชการ
เมื่อไม่นานมานี้ นักชีววิทยาชาวแคนาดาได้ทดลองทำเครื่องหมายติดไว้ที่ตัวปลาแซลมอนที่เกิดที่แม่น้ำเฟรเซอร์ในโคลัมเบีย ประมาณ 5 แสนตัว หลังจากนั้น 4 ปี ได้พบแซลมอนที่ทำเครื่องหมายไว้ ประมาณ 11,000 ตัว ในแม่น้ำเฟรเซอร์ในบริเวณที่พ่อแม่เคยมาวางไข่ และไม่พบแซลมอนที่หลงทางไปบริเวณอื่น ๆ เลย การทดลองแสดงให้เห็นว่า การกลับถิ่นกำเนิดของแซลมอน เป็นการชักนำจากกลิ่นของพ่อแม่ที่ปล่อยไว้ในน้ำ แซลมอนได้รับการปลูกฝังกลิ่นเหล่านี้ตั้งแต่ยังไม่ฟักออกเป็นไข่ ถ้าไข่ถูกนำออกจากแหล่งน้ำของพ่อแม่ไปไว้บริเวณอื่น ไกลกว่าหลายไมล์ ตัวเต็มวัยก็ยังคงกลับมาแหล่งเดิมของพ่อแม่ได้ สารประกอบของกลิ่นนั้นเป็นสารอินทรีย์ระเหย และคุณสมบัติทางเคมียังไม่ทราบแน่ชัด ขณะนี้ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า ปลาแซลมอนหาทางมายังปากน้ำได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ในการนำทางมาจากทะเล
เมื่อกล่าวถึงปลาแซลมอนแล้วประ เทศไทยค่อนข้างห่างไกลกับตัวปลาแบบ เป็น ๆ แต่ถ้าเป็นเนื้อปลาก็เป็นที่ยอมรับ กันว่าคุ้นหูคุ้นปากและรสชาติเป็นอย่างดี ด้วย ปีหนึ่ง ๆ มีการนำเข้าปลาแซลมอนเป็นจำนวนไม่น้อย และมีมากจนถึงขั้น เป็นประเทศกลางในการส่งออกในรูปแบบ ต่าง ๆ ได้อีกด้วย คือประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่มีแหล่งอาศัยและการจับ ปลาแซลมอนในทะเล แต่เป็นประเทศที่ ส่งออกเนื้อปลาแซลมอนแช่เย็น แช่แข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลาแซลมอนไปยังต่างประเทศปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวน ไม่น้อย และล่าสุดมีข่าวน่ายินดีสำหรับผู้ส่งออกปลาแซลมอนในรูปแบบต่าง ๆ ของไทย คือทาง ดร.นันทิยา อุ่นประเสริฐ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ทางประเทศออสเตรเลีย ได้อนุญาตการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนแช่เย็นแช่แข็งจากประเทศไทยมาตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2553 ซึ่งที่ผ่าน มาประเทศไทยได้รับการอนุญาตให้จัดส่งผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนไปจำหน่ายยังออสเตรเลียในรูปแบบแซลมอนกระป๋องเท่านั้น โดยการอนุญาตดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่กรมประมงได้จัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับระบบการควบคุมและตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากปลาแซลมอนให้ทางการออสเตรเลีย นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีหน้าที่ประเมินความเสี่ยงการนำเข้าสินค้าได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่มาตรวจประเมินการปฏิบัติงานของกรมประมง และตรวจสอบโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่แจ้งความประสงค์จะส่งผลิตภัณฑ์แซลมอนแช่เย็น แช่แข็ง ไปจำหน่ายยังประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์แซลมอนแช่เย็น แช่แข็งที่ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อส่งไปจำหน่าย นั้น จะต้องใช้นำเข้าจากประเทศที่ออสเตรเลียให้การรับรองเท่านั้น ได้แก่ แคนาดา เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญต้องมีใบรับรองสุขอนามัยที่ออกโดยหน่วยงานรับผิดชอบของประเทศต้นทางกำกับ ซึ่งจะต้องมีข้อความตามที่ออสเตรเลียกำหนด ไว้ด้วย
ส่วนการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในประเทศไทยในอนาคตจะมีหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่ในวันนี้ที่ประเทศเวียดนาม การทดลองเพาะเลี้ยงปลาแซล มอนในพื้นที่ภูเขาทางภาคเหนือในเขตซาปา จังหวัดลาวกายของเวียดนาม ซึ่งมีรายงานว่าได้ผลดี และกำลังเร่งขยายพันธุ์ไปสู่ประชาชน ทั่วไปเพื่อให้มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ อีกด้วย
สำหรับผู้ประกอบการรายใดที่ประสงค์ จะส่งผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนไปจำหน่าย ยังออสเตรเลีย ดร.นันทิยา บอกด้วยว่า สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง โทรศัพท์ 0-2558-0150-5 ในวันและเวลาราชการ
วิเคราะห์ Swot Analysis
จุดแข็ง
• แรงงานไทยมีศักยภาพและความชำนาญในการแปรรูปอาหารทะเล
• ผู้ประกอบการไทยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ให้สะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
จุดอ่อน
• สุขอนามัยของแหล่งวัตถุดิบ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องบางแห่ง ยังไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์
• เผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานเนื่องจากสภาพแวดล้อมในการทำงานชื้นแฉะและมีกลิ่นเหม็น
โอกาส
• มีผู้นิยมหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากขึ้น ปลาทะเลจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยม
• ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังมีความต้องการสินค้าแปรรูปเพิ่มมากขึ้น
อุปสรรค
• มีการแข่งขันในตลาดที่สูงมาก จึงทำให้สามารถครองตลาดได้ยาก
Good.
ตอบลบDo the SWOT.
เนื้อหากะทัดรัดได้ใจความดีจ้า ตกแต่งสวยงามมากค่ะเพื่อนสาว ^^
ตอบลบเห็นด้วยกับการวิเคราะห์ SWOT ค่ะ
ตอบลบวิเคราะห์ดีจังเลย เนื้อหาเข้าใจง่ายจ้านู๋ฝ้าย
ตอบลบ