วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความสินค้าส่งออก

ออสเตรเลียไฟเขียวแซลมอนจากไทย 


                แซลมอน เป็นปลาทะเลที่ว่ายเข้าสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ เพราะเป็นปลาที่ผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ จะวางไข่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูงเท่านั้น
โดยแซลมอนเพศเมีย จะขุดรังด้วยปลายหางและวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อมาปฏิสนธิกับไข่ จากนั้นตัว เมียจะใช้หางกลบไข่เพื่อไม่ให้ถูกกระแสน้ำพัดพาไปแล้วลูกปลาจะว่ายตามกระแสน้ำออกสู่ทะเลในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนต่อไป เมื่อออกจากไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะอพยพไปสู่มหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเจริญเติบโตที่นั่น และเมื่อถึงฤดูวางไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะกลับไปวางไข่ที่บ้านเกิดของตัวเองต่อไป         
               เมื่อไม่นานมานี้  นักชีววิทยาชาวแคนาดาได้ทดลองทำเครื่องหมายติดไว้ที่ตัวปลาแซลมอนที่เกิดที่แม่น้ำเฟรเซอร์ในโคลัมเบีย ประมาณ 5 แสนตัว หลังจากนั้น 4 ปี ได้พบแซลมอนที่ทำเครื่องหมายไว้ ประมาณ 11,000 ตัว ในแม่น้ำเฟรเซอร์ในบริเวณที่พ่อแม่เคยมาวางไข่ และไม่พบแซลมอนที่หลงทางไปบริเวณอื่น ๆ เลย การทดลองแสดงให้เห็นว่า การกลับถิ่นกำเนิดของแซลมอน เป็นการชักนำจากกลิ่นของพ่อแม่ที่ปล่อยไว้ในน้ำ แซลมอนได้รับการปลูกฝังกลิ่นเหล่านี้ตั้งแต่ยังไม่ฟักออกเป็นไข่ ถ้าไข่ถูกนำออกจากแหล่งน้ำของพ่อแม่ไปไว้บริเวณอื่น ไกลกว่าหลายไมล์ ตัวเต็มวัยก็ยังคงกลับมาแหล่งเดิมของพ่อแม่ได้ สารประกอบของกลิ่นนั้นเป็นสารอินทรีย์ระเหย และคุณสมบัติทางเคมียังไม่ทราบแน่ชัด ขณะนี้ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า ปลาแซลมอนหาทางมายังปากน้ำได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ในการนำทางมาจากทะเล
               เมื่อกล่าวถึงปลาแซลมอนแล้วประ เทศไทยค่อนข้างห่างไกลกับตัวปลาแบบ เป็น ๆ แต่ถ้าเป็นเนื้อปลาก็เป็นที่ยอมรับ กันว่าคุ้นหูคุ้นปากและรสชาติเป็นอย่างดี ด้วย ปีหนึ่ง ๆ มีการนำเข้าปลาแซลมอนเป็นจำนวนไม่น้อย และมีมากจนถึงขั้น เป็นประเทศกลางในการส่งออกในรูปแบบ  ต่าง ๆ ได้อีกด้วย คือประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่มีแหล่งอาศัยและการจับ ปลาแซลมอนในทะเล แต่เป็นประเทศที่ ส่งออกเนื้อปลาแซลมอนแช่เย็น แช่แข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลาแซลมอนไปยังต่างประเทศปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวน  ไม่น้อย และล่าสุดมีข่าวน่ายินดีสำหรับผู้ส่งออกปลาแซลมอนในรูปแบบต่าง ๆ ของไทย คือทาง ดร.นันทิยา อุ่นประเสริฐ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ทางประเทศออสเตรเลีย ได้อนุญาตการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนแช่เย็นแช่แข็งจากประเทศไทยมาตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2553 ซึ่งที่ผ่าน  มาประเทศไทยได้รับการอนุญาตให้จัดส่งผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนไปจำหน่ายยังออสเตรเลียในรูปแบบแซลมอนกระป๋องเท่านั้น โดยการอนุญาตดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่กรมประมงได้จัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับระบบการควบคุมและตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากปลาแซลมอนให้ทางการออสเตรเลีย  นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีหน้าที่ประเมินความเสี่ยงการนำเข้าสินค้าได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่มาตรวจประเมินการปฏิบัติงานของกรมประมง และตรวจสอบโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่แจ้งความประสงค์จะส่งผลิตภัณฑ์แซลมอนแช่เย็น แช่แข็ง ไปจำหน่ายยังประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา
               ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์แซลมอนแช่เย็น  แช่แข็งที่ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อส่งไปจำหน่าย นั้น  จะต้องใช้นำเข้าจากประเทศที่ออสเตรเลียให้การรับรองเท่านั้น ได้แก่ แคนาดา เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญต้องมีใบรับรองสุขอนามัยที่ออกโดยหน่วยงานรับผิดชอบของประเทศต้นทางกำกับ ซึ่งจะต้องมีข้อความตามที่ออสเตรเลียกำหนด  ไว้ด้วย
               ส่วนการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในประเทศไทยในอนาคตจะมีหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่ในวันนี้ที่ประเทศเวียดนาม การทดลองเพาะเลี้ยงปลาแซล มอนในพื้นที่ภูเขาทางภาคเหนือในเขตซาปา จังหวัดลาวกายของเวียดนาม ซึ่งมีรายงานว่าได้ผลดี และกำลังเร่งขยายพันธุ์ไปสู่ประชาชน ทั่วไปเพื่อให้มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์   อีกด้วย
               สำหรับผู้ประกอบการรายใดที่ประสงค์ จะส่งผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนไปจำหน่าย  ยังออสเตรเลีย ดร.นันทิยา บอกด้วยว่า สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง โทรศัพท์ 0-2558-0150-5 ในวันและเวลาราชการ

วิเคราะห์ Swot Analysis

จุดแข็ง
แรงงานไทยมีศักยภาพและความชำนาญในการแปรรูปอาหารทะเล
ผู้ประกอบการไทยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ให้สะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
จุดอ่อน
สุขอนามัยของแหล่งวัตถุดิบ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องบางแห่ง ยังไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์
เผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานเนื่องจากสภาพแวดล้อมในการทำงานชื้นแฉะและมีกลิ่นเหม็น
โอกาส
มีผู้นิยมหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากขึ้น ปลาทะเลจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยม
ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังมีความต้องการสินค้าแปรรูปเพิ่มมากขึ้น
อุปสรรค
มีการแข่งขันในตลาดที่สูงมาก จึงทำให้สามารถครองตลาดได้ยาก

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศออสเตรเลีย





ที่ตั้งและประวัติความเป็นมาของประเทศออสเตรเลีย
ที่ตั้ง  ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ลักษณะประเทศเป็นเกาะ เป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกใบนี้
ประวัติความเป็นมา  การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2149  เป็นเรือของชาวดัตช์ โดยกัปตัน  Willem Janszoon ทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลีย และต่อมาจึงกลายเป็นดินแดนอาณานิคมของบริเตน โดยเริ่มต้นเป็นอาณานิคมนักโทษในนิวเซาท์เวลส์ และจึงมีการตั้งอาณานิคมขึ้นอีกห้าแห่ง อาณานิคมทั้งหกรวมตัวเป็นสหพันธรัฐในปีพ.ศ. 2444
ที่มา  http://www.chicbiscuit.com/2009/12/variety-australia-guide/

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ (International trade)หมายถึง  การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
  • - ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ของแต่ละประเทศจะถูกใช้ไปในทางการผลิตสินค้าที่ประเทศของตนได้เปรียบในการผลิต ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศไปในทางที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • - ประชากรของแต่ละประเทศ จะได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้นกว่าที่ไม่มีการซื้อการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่น ๆ เลย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้น
  • - ถ้าการสั่งสินค้าออกของประเทศ สามารถส่งออกเป็นจำนวนมากก็จะมีผลกระทบถึงรายได้ของประชากร ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น
  • - สินค้าออกเป็นที่มาของเงินตราต่างประเทศ
  • - สินค้าออกเป็นที่มาของรายได้และภาษีอาการของรัฐ
  • - สินค้าเข้าที่เป็นประเภททุน จะขายเพิ่มในการผลิตและการพัฒนาประเทศ
  • - เมื่อมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ก็จะเป็นผลกระทบในการเพิ่มอำนาจซื้อแก่ประเทศอื่น ๆ ให้สามารถซื้อสินค้าออกของเราได้
ที่มา  http://learners.in.th/file/kulkanit/

การตลาดระหว่างประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
               การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด

ที่มา  www.ba.ru.ac.th/KM/.../การตลาดระหว่างประเทศ.doc

ความแตกต่างของการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้แต่อีกประเทศหนึ่งผลิตไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าของแต่ละประเทศมาแลกเปลี่ยนกัน
                การตลาดระหว่างประเทศ เป็นการทำธุรกิจในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนจากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าการค้าระหว่างประเทศ